เมนู

อรรถกถาอนิจจสูตรที่ 2



ในอนิจจสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ปุพฺพนฺตานุทิฏฺฐิโย ความว่า ทิฏฐิ 18 ที่ไปตามที่สุด
เบื้องต้นไม่มี. บทว่า อปรนฺตานุทิฏฺฐิโย ความว่า ทิฏฐิ 44 ที่ไปตามที่สุด
เบื้องปลายไม่มี. บทว่า ถามโส ปรามาโส ความว่า ความแรงของทิฏฐิ
และความยึดมั่นของทิฏฐิไม่มี. ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันทรง
แสดงปฐมมรรคแล้ว.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงมรรค 3 และผล 3 พร้อมด้วยวิปัสสนา
จึงเริ่มคำมีอาทิว่า รูปสฺมึ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าทิฏฐิทั้งหลาย
ละได้ด้วยวิปัสสนานั่นเอง แต่คำนี้ ท่านเริ่มเพื่อแสดงมรรค 4 พร้อม
ด้วยวิปัสสนาชั้นสูง
จบ อรรถกถาอนิจจสูตรที่ 2

5. สมนุปัสสนาสูตร



ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ 5



[94] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นตน
เป็นหลายวิธี สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมพิจารณาเห็น
อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็น

พระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อม
ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน 1 ย่อมตามเห็นตนมีรูป 1 ย่อมตามเห็น
รูปในตน 1 ย่อมตามเห็นตนในรูป 1 ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความ
เป็นตน... ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน... ย่อมตามเห็นสังขาร
โดยความเป็นตน... ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน 1 ย่อม
ตามเห็นตนมีวิญญาณ 1 ย่อมตามเห็นวิญญาณในตน 1 ย่อมตามเห็น
ตนในวิญญาณ 1 การตามเห็นด้วยประการดังนี้แล เป็นอันผู้นั้นยึดมั่น
ถือมั่นว่า เราเป็น เมื่อผู้นั้นยืดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น ในกาลนั้น อินทรีย์ 5
คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ย่อมหยั่งลง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่ ธรรมทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์
ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นว่า
เราเป็นดังนี้บ้าง เราเป็นอย่างนี้ ดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็น
ดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จัก
ไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ 5 ย่อมตั้งอยู่ ในเพราะการตามเห็นนั้นทีเดียว
เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชา
ย่อมเกิดขึ้น เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่ง
วิชชา อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า
เราเป็นดังนี้บ้าง เราเป็นอย่างนี้ดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็น
ดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง
จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้
ดังนี้บ้าง.
จบ สมนุปัสสนาสูตรที่ 5

อรรถกถาสมนุปัสสนาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺเธ สมนุปสฺสนฺติ เอเตสํ วา อญฺญตรํ
ความว่า สมณะหรือพราหมณ์พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ด้วยอำนาจยึดถือ
ขันธ์ที่บริบูรณ์ พิจารณาเห็นบรรดาขันธ์เหล่านั้นด้วยอำนาจยึดถือขันธ์
ที่ไม่บริบูรณ์ขันธ์ได้ขันธ์หนึ่ง. บทว่า อิติ อยญฺเจว สมนุปสฺสนา
ความว่า ก็อนุปัสสนานี้ ชื่อว่าทิฏฐิสมนุปัสสนา ด้วยประการฉะนี้. บทว่า
อสฺมีติ จสฺส อธิคตํ โหติ ความว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า 3 อย่าง คือ
ตัณหา มานะ และทิฏฐิว่า เราได้เป็นแล้วในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
3 อย่างนั้น ซึ่งมีตัวสมนุปัสสนาอยู่ เป็นอันเราบรรลุแล้ว. บทว่า ปญฺจนฺนํ
อินฺทฺริยานํ อวกฺกนฺติ โหติ
ความว่า เมื่อกิเลสชาตนั้นมีอยู่ อินทรีย์ 5 ซึ่ง
เป็นปัจจัยแห่งกรรมกิเลส ย่อมบังเกิด.
คำว่า อตฺถิ ภิกฺขเว มโน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาใจซึ่งมีธรรมเป็น
อารมณ์. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ อารมณ์. บทว่า อวิชฺชาธาตุ ได้แก่ อวิชชา
ในขณะแห่งชวนจิต. บทว่า อวิชฺชาสมฺผสฺสเชน ได้แก่ เกิดจากผัสสะ
อันสัมปยุตด้วยอวิชชา. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มโน ได้แก่ ใจที่มีวิบาก
เป็นอารมณ์ในขณะแห่งภวังคจิต มโนธาตุฝ่ายกิริยาในขณะแห่งอาวัชชนจิต
และธรรมเป็นต้น ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า อสฺมีติปิสฺส โหติ
ความว่า เขาได้ยึดมั่นอย่างนี้ว่า เราได้เป็นแล้วด้วยอำนาจตัณหามานะ
ทิฏฐิ. นอกจากนี้ คำว่า อยมหมสฺมิ ท่านยึดถือธรรมในอารมณ์มีรูป
เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวด้วยอำนาจอัตตทิฏฐิ ถือว่าเป็นตน ว่า